ระวัง 13 อาการโรคกลัวการไม่มีมือถือ หรือโนโมโฟเบีย

โทรศัพท์มือถือ สมาร์ทโฟน กลายเป็นสิ่งจำเป็นติดตัวที่หลายๆ คนขาดไม่ได้ ทำให้ตอนนี้เกิดเป็นโรคชนิดใหม่ขึ้น ชื่อว่า “โรคโนโมโฟเบีย” (Nomophobia) หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า โรคติดโทรศัพท์มือถือ เพราะในปัจจุบันนี้โทรศัพท์มือถือถือเป็นปัจจัยที่ 5 ที่คนในยุคสมัยนี้ขาดไม่ได้…

ระวัง 13 อาการโรคกลัวการไม่มีมือถือ หรือโนโมโฟเบีย

171419

ผลจากการศึกษาของ Helsinki Institute for Information Technology ประเทศฟินแลนด์ พบว่า โดย เฉลี่ยคนจะเช็คโทรศัพท์มือถือวันละ 34 ครั้ง โดยมักจะเช็คอีเมล์ เฟซบุ๊ก ทวิตเตอร์ หรือ App ต่างๆ โดยจะใช้เวลาเช็คไม่เกิน 30 วินาที สำหรับ สาเหตุที่เช็คนั้นไม่ใช่เพราะมีเรื่องด่วน แต่ว่าเป็นสิ่งที่ทำประจำจนเป็นนิสัยแล้ว หรือห้ามใจไม่ไหว ดังนั้น หากวางมือถือผิดที่จะใช้เวลาเพียงไม่นานก็ทราบว่ามือถือหาย

นักวิจัยวิทยาวิเคราะห์ว่า กลุ่ม คนอายุน้อยมีโอกาสเป็นโรคนี้มากกว่า เพราะช่วงวัยรุ่นจะติดเพื่อน ติดเกมส์มากกว่า และเมื่อเราเอาแต่ติดโทรศัพท์ ติดโซเชียล ทำให้เราละเลยที่จะทำสิ่งต่างๆ ในชีวิตประจำวัน บางครั้งก็เล่นจนไม่ได้รับประทานอาหาร อดหลับอดนอน หรือไม่สนใจคนรอบข้าง อาจทำให้สุขภาพเสียได้หรือเกิดนิสัยที่ไม่ดีติดตัว และที่สำคัญที่สุดคงจะเป็นเรื่องของเวลา ยิ่งเราหมกตัวอยู่กับโทรศัพท์มากเท่าไหร่ ทำให้เรามีเวลาดูแลตัวเองน้อยลงมากเท่านั้น รวมถึงการออกกำลังกายทำให้เราอ้วนไม่รู้ตัว

 

171420

ลองมาดู 13 อาการของ “โรคโนโมโฟเบีย” (Nomophobia) หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า โรคติดโทรศัพท์มือถือว่าเราเป็นแบบเดียวกับในข้อเหล่านี้บ้างหรือเปล่า?

1.) ตื่นนอนขึ้นมาสิ่งแรกที่คุณหาคือ “โทรศัพท์”

2.) เมื่อคุณอาบน้ำคุณต้องเอาโทรศัพท์เข้าไปด้วยอาจจะไปฟังเพลงหรือกดเล่น

3.) เมื่ออาบน้ำเสร็จ ระหว่างการทำการแต่งตัวหรือทำธุรกิจส่วนตัวต่างๆ คุณมักจะวางโทรศัพท์ไว้ข้างๆ และเปิดเพลงฟังด้วย

4.) ในขณะทำงานคุณต้องมีโทรศัพท์อยู่ใกล้ๆ มือเสมอ

5.) ตลอดทั้งวันโทรศัพท์ไม่เคยที่จะห่างตัวเลย

6.) เมื่อคุณขึ้นรถคุณต้องเอาโทรศัพท์ขึ้นมาถือไว้หรือเอาออกมาวางให้เห็นหรือกดเล่น

7.) คุณมักจะเอาโทรศัพท์มากดเล่นๆ เมื่อว่างจะดูรูปภาพ ถ่ายรูป ฟังเพลง เล่นเกมส์

8.) เวลาคุณนอนต้องเอาโทรศัพท์ไว้ใกล้ตัวก่อนนอน หรือเล่นโทรศัพท์จนนอนหลับไป

9.) ตลอดทั้งวันเวลาไปไหนคุณต้องหยิบโทรศัพท์ติดตัวไปด้วยเสมอ

10.) เวลาทำงานต่างๆ หรือแม้แต่พักผ่อน อ่านหนังสือ คุณต้องเอาโทรศัพท์มาไว้ฟังเพลงหรือวางไว้ข้างๆ

11.) ชอบมองโทรศัพท์บ่อยๆ

12.) คุณมักจะชาร์ตแบตเตอรี่ให้เต็มตลอดเวลา หรือไม่ก็มีแบตเตอรี่สำรองติดตัวตลอดเวลาเดินทางไปไหน

13.) คุณคิดว่าโทรศัพท์เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดในชีวิตคุณ ที่ขาดไม่ได้

สำหรับการติดตามเรื่อง “โนโมโฟเบีย” (Nomophobia) ในประเทศไทย ในช่วงต้นปี 56 ที่ผ่านมาสำนักงานส่งเสริมสังคมเเห่งการเรียนรู้เเละคุณภาพเยาวชน (สสค.) ออกมาเปิดเผยผลสำรวจหัวข้อว่า “1 วันในชีวิตเด็กไทย” ในกลุ่มตัวอย่างประมาณ 3,000 คนทั้งในกรุงเทพฯเเละต่างจังหวัด พบข้อมูลที่น่าสนใจ คือวงจรชีวิตของเด็กไทยใน 1 วัน สิ่งเเรกที่เด็ก 51% ทำหลังตื่นนอน คือการเช็คโทรศัพท์มือถือ สิ่งสุดท้ายที่เด็ก 35% ทำก่อนนอนคือใช้โทรศัพท์มือถือเล่นเฟซบุ๊กเเละไลน์”

แสดงความคิดเห็น

 
Top