จากกรณีที่ จำเลยที่ 1 ได้มีนิติสัมพันธ์ต่อกันโดยโจทก์อนุญาตให้จำเลยที่ 1 เป็นผู้เก็บค่าตอบแทนและค่าเผยแพร่ผลงานด้านดนตรี สิ่งบันทึกเสียงและโสตทัศน์วัสดุ ซึ่งเป็นลิขสิทธิ์ของโจทก์ จากสถานประกอบการร้านค้าหรือผู้ใช้งานดนตรีกรรม โดยได้ทำหนังสื่ออนุญาตให้จัดเก็บค่าเผยแพร่งานอันมีลิขสิทธิ์ต่อสาธารณะ จนถึงปัจจุบันจำนวน 3 ฉบับ ในปี 2545, 2547 และ 2549 โดยอายุสัญญาฉบับที่ 3 จะหมดในวันที่ 4 กรกฎาคม 2560 ซึ่งเจตนารมณ์ของสัญญาคือการที่โจทก์ได้อนุญาตให้จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นบริษัทในเครือจำเลยที่ 3 เป็นผู้จัดเก็บค่าตอบแทนจากบุคคลภายนอกเท่านั้น
แต่ปลายเดือนสิงหาคม 2558 หลังวงลาบานูน ที่ได้ย้ายค่ายสังกัดจีนี่ เรคคอร์ด และเมื่อประมาณต้นเดือนตุลาคม 2557 ได้ออกผลงานเพลงเชือกวิเศษ แล้วได้นำงานเพลงทั้ง 7 อัลบั้ม คือ นมสด, 191, คนตัวดำ, 24 ชั่วโมง, Clear, Keep Rocking และสยามเซ็นเตอร์ ที่เป็นลิขสิทธิ์ของบริษัทโจทก์ไปใช้ประกอบการแสดงในแต่ละครั้ง ไม่น้อยกว่า 10 เพลงต่อรอบ โดยไม่ได้รับอนุญาตจากโจทก์
นับตั้งแต่ปี 2557 จนถึงวันฟ้อง วงลาบานูนได้จัดการแสดงเพื่อประโยชน์การค้ามาถึง 250 รอบ จึงเป็นการกระทำให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ได้รับความเสียหาย ก่อนฟ้องโจทก์ได้ให้ทนายความมีหนังสือแจ้งจำเลยทั้ง 6 ชดใช้ค่าเสียหายพร้อมให้ยุติการกระทำที่ละเมิดลิขสิทธิ์โจทก์แล้ว แต่จำเลยทั้ง 6 ยังเพิกเฉย โดยศาลประทับรับฟ้องไว้ และนัดสืบพยานโจทก์ ในวันที่ 23 พฤษภาคม นี้ 09.00 น.
แสดงความคิดเห็น