10 เรืองลี้ลับในอวกาศ



เรื่องน่าขันเกี่ยวกับการค้นพบ คือว่ามันมักมีความลี้ลับใหม่ๆ ตามมาด้วย ปีนี้ก็ไม่มีข้อยกเว้น เมื่อการพบในวิทยาศาสตร์อวกาศที่เด่นมากมาย สร้างปัญหาให้นักดาราศาสตร์ที่มองหาความหมาย ต่อไปนี้เป็น 10 เรื่องลี้ลับที่นักดาราศาสตร์กำลังครุ่นคิดใน พ.ศ.2546



1)พลังงานมืด







ไม่มีใครทราบว่ามันเป็นอะไรกันแน่ แต่มันเป็นการผลักดัน ขณะที่แรงโน้มถ่วงยึดสิ่งต่างๆ เข้าหากันในแต่ละแห่ง(ภายในดาราจักรและระหว่างดาราจักรในกระจุกดาราจักร) มีแรงที่ไม่รู้จักกำลังทำงานอยู่เบื้องหลังและทั่วเอกภพ เพื่อดึงให้ทุกสิ่งออกห่างจากกัน เพิ่งสังเกตกันได้ไม่นานมานี้ว่าเอกภพกำลังขยายตัวด้วยอัตราเร็วเพิ่มขึ้นเมื่อไม่พบร่องรอยว่ามันคืออะไร



ก็เรียกมันว่าพลังงานมืด ปีที่ผ่านมาพิสูจน์ได้ว่าพลังงานมืดกำลังทำงานอยู่ การคำนวณได้ทำให้ดีขึ้น แรงผลักมีอิทธิพลต่อเอกภพ มี 65% มวลมืดหรือมวลสารมืด(dark matter) ที่แปลกและไม่สามารถเห็นได้มี 30% ของเอกภพ ทำให้เอกภพมีแค่ 5% ของมวลและพลังงานตามปกติ การขยายตัวด้วยความเร่งให้แนวคิดว่า ดาราจักรทั้งหมดจะมีชะตากรรมแบบไม่มีที่สิ้นสุด หาจุดจบไม่ได้



2)น้ำบนดาวอังคาร 




ดาวอังคารยังปกปิดความลี้ลับไว้ได้ ไม่เปิดเผยกันง่ายๆ มีสิ่งมีชีวิตบนดาวอังคารหรือไม่? ใครจะตอบได้ถูก ในเมื่อนี่ยังเป็นคำถามของนาซ่าและนักวิทยาศาสตร์ดาวอังคาร แต่ก่อนตอบคำถามนี้มีปัญหาเกี่ยวกับน้ำเหลวที่ชีวิตต้องการ





ทั้งๆ ที่มีการค้นพบสำคัญเกี่ยวกับน้ำแข็ง ในพ.ศ.2545 แต่ก็ไม่มีใครนึกภาพออกว่ามันอยู่ในสภาวะเหลวได้อย่างไร มีร่องรอยเมื่อเดือนธันวาคมเป็นริ้วรอยมืดบนผิวเป็นเกลือ และน้ำไหล แต่บรรดาผู้วชาญทั้งหลายไม่มั่นใจหรอก ตอนนี้ยานอวกาศโอเดเซย์(Odyssey ของนาซ่า) กำลังโคจรรอบดาวอังคาร จะตามล่าหลักฐานมาให้



3)ใจกลางทางช้างเผือก







บางสิ่งบางอย่างกำลังถูกกลืนที่หลุมดำใจกลางดาราจักรทางช้างเผือก การเฝ้าดูดวงดาวโคจรรอบหลุมดำของทางช้างเผือก ดำเนินไปแม้เป็นไปไม่ได้ที่จะเห็นหลุมดำที่นั่น บริเวณรอบหลุมดำมีความกัมมันต์หรือความปั่นป่วนรุนแรง จากหอสังเกตการณ์จันทรา ที่แสดงแล้วเมื่อต้นพ.ศ.2545 แต่หลุมดำก็ไม่ได้สวาปามมวลมากพอจนคายรังสีเอกซ์พลังงานสูงอย่างที่เห็นในหลุมดำมวลมาก



พฤติกรรมของหลุมดำแสดงความแตกต่างมากมายจนนักวิทยาศาสตร์ยังไม่เข้าใจการศึกษาเมื่อเดือนมกราคม 2545 บอกว่าหลุมดำ 2 หลุม รวมกันอาจทำตัวเหมือนเป็นสวิทช์ปิดเปิดของความเป็นกัมมันต์ มีประกาศการสังเกตการณ์เมื่อเดือนพฤศจิกายนแสดงหลุมดำ 2 หลุมกำลังรวมกัน จะต้องอธิบายความแตกต่างระหว่างหลุมดำแบบธรรมดาของเราและหลุมใหญ่ที่สว่างไสวรอบดาราจักรไกลๆ



4)กำเนิดของชีวิต


มีข้อมูลเพียงเล็กน้อยที่จะทำงานด้วยได้ โลกไม่ได้มีการบันทึกว่าเกิดอะไรขึ้นเมื่อหลายพันล้านปีที่แล้ว แต่ก็ไม่ได้ขาดแคลนความคิดกว้างไกล ตอนนี้นักวิทยาศาสตร์เห็นกันว่าชีวิตสามารถอยู่รอดได้ด้วยการเดินทางจากดาวอังคารมายังโลก มันอยู่ในชิ้นส่วนที่หลุดจากดาวอังคารหลังถูกดาวเคราะห์น้อยชนเข้าให้



เมื่อพฤศจิกายนนี้พบว่าหินจากดาวอังคารมายังโลกราวเดือนละก้อน มีแมลงเล็กๆ ภายในฝุ่นของดาวหาง รายงานที่ได้รับการสนับสนุนเมื่อเดือนธันวาคมพบว่า มีสัตว์เล็กๆ จากอวกาศเข้ามาในบรรยากาศโลก นักวิทยาศาสตร์ส่วนใหญ่เห็นว่าชีวิตบนโลกอาจอยู่ในซุปร้อนของสารชีวะเคมี ส่วนที่เป็นน้ำและสารอินทรีย์อาจมาจากอวกาศ โลกคงไม่ต่างจากเครื่องฟักไข่หรือเครื่องเพาะเชื้อ ชีวิตที่นี่อาจเริ่มต้นในที่ไกลแห่งใดแห่งหนึ่ง อาจเคยอยู่บนดาวอังคารหรืออยู่รอบๆ ดาวดวงอื่นมาก่อน



5)ความลับของดวงจันทร์ 




ไม่มีวัตถุท้องฟ้าในที่ใดที่จะศึกษาได้ดีกว่าดวงจันทร์ เราไปที่นั่น เลือกเฟ้น และนำหินกลับบ้าน แต่ดวงจันทร์ก็ยังคงเก็บความลี้ลับไว้มากมาย ที่ดูแปลกกว่าเก่า คือเรื่องหินบนดวงจันทร์ที่เคยเป็นของโลกมาก่อน มันหลุดออกจากโลกไปได้เมื่อหลายพันล้านปี เมื่อดาวเคราะห์น้อยชนโลกเข้าให้ ที่ๆ เก็บข้อมูลของโลกอยู่บนดวงจันทร์ ?!



ความพยายามเพื่อหาปริมาณ เมื่อเดือนกรกฎาคมพบ มวล 11,000 ปอนด์ จากโลกอยู่ห่างกันไม่กี่นิ้วตามพื้นผิวทุกตารางไมล์บนผิวดวงจันทร์ หินโลกบนดวงจันทร์น่าจะให้ข้อมูลเกี่ยวกับองค์ประกอบของโลกได้ตอนโลกอายุยังน้อย บรรยากาศโลกและอาจเป็นกำเนิดของชีวิตด้วย ที่จะได้ข้อมูลนี้หาไม่ได้จากที่อื่นใดอีกนอกจากดวงจันทร์ เพราะโลกไม่เหมือนดวงจันทร์ ดวงจันทร์เงียบสงบไม่มีการเคลื่อนไหวภายใน



แต่โลกนำมวลจากภายในขึ้นมาที่ผิวใหม่ มีการพับหินดินที่เปลือกโลกเข้าไปข้างในและหลอมละลายเกินกว่าจะรับรู้ได้ ไม่มีใครแน่ใจว่าควรให้มวลของโลกอยู่ที่ดวงจันทร์นั่นต่อไป หรือควรเอามันกลับคืนมา การวิจัยครั้งใหม่นี้จะบังคับให้มนุษย์กลับไปยังดวงจันทร์ครั้งใหม่ จอห์น อาร์มสตรอง จากมหาวิทยาลัยวอชิงตันบอกว่า นี่จะเป็นวิธีเร็วและถูกที่สุดที่จะเรียนรู้เกี่ยวกับกำเนิดดาวเคราะห์และการเกิดระบบสุริยะทั้งหมด



6)เราโดดเดี่ยวหรือไม่ 




เราค้นพบดาวเคราะห์ของระบบดาวอื่นที่ใหญ่กว่าดาวพฤหัสบดี และดาวเคราะห์ทั้งหลายโคจรใกล้ดาวของมันมากกว่าของระบบสุริยะของเรา ซึ่งเห็นว่าแปลก เราชักสงสัยว่าระบบสุริยะของเรามาตรฐานจริงหรือ? อย่างไรก็ตาม เมื่อมิถุนายนพบดาวเคราะห์ขนาดเท่าดาวพฤหัสบดีในวงโคจรรอบดาวอื่น



ตอนนี้มีความพยายามที่จะค้นหาดาวเคราะห์ขนาดเล็กกว่านั้น การศึกษาพ.ศ.2545 คาดว่ามีดาวเคราะห์เล็กๆ หลายพันล้านดวงโคจรรอบดาวทั้งหลาย สงสัยกันว่าจะมีดาวเคราะห์หินในวงโคจรคล้ายโลกของไหม? ความลี้ลับนี้คงพิสูจน์กันไม่ได้จนกว่าจะมียุคใหม่ของกล้องโทรทรรศน์อวกาศขึ้นโคจร การศึกษาพ.ศ. 2545 พบว่ามีโอกาสของสิ่งมีชีวิตนอกโลกบนดาวเคราะห์คล้ายโลก และ 1 ใน 3 นักวิทยาศาสตร์ส่วนใหญ่กำลังพูดถึงอีที ก็จะตื่นเต้นกันมากที่มีโอกาสจะพบจุลชีพ



7)ดวงอาทิตย์ปริศนา 




ถ้าอยากค้นหาอาชีพที่อนาคตสดใส น่าจะเลือกเป็นนักฟิสิกส์ดวงอาทิตย์ น่าประหลาดที่เรายังไม่เข้าใจไดนามิกส์ของดาวที่เราโคจรรอบ ตอนนี้ ภาพใหม่ของดวงอาทิตย์ใน พ.ศ.2545 มีรายละเอียดมากที่สุด เปิดเผยโครงสร้างที่คล้ายคลองจากบริเวณสว่างไปยังใจกลางจุดมืดของดวงอาทิตย์ โครงสร้างแปลกนี้ได้รับเชื้อเพลิงจากความร้อนมหาศาลและพลังงานสนามแม่เหล็ก แต่ถ้าจะไปให้ไกลกว่านั้น เช่นการกำเนิดยังเป็นความลี้ลับอยู่ ปรากฏการณ์พลศาสตร์และโครงสร้างบนดวงอาทิตย์ทั่วไปยังไม่เข้าใจ แม้สังเกตการณ์กันมานานมากแล้วก็ตาม



8)อายุของเอกภพ 




นักวิทยาศาสตร์เห็นด้วยกับวิธีการทั่วไป ว่าเอกภพเริ่มแรกวิวัฒนาการแบบใด แต่เขาเริ่มโต้เถียงกันเมื่อเห็นหัวข้อของอายุเอกภพ อายุของเอกภพราว 12-15 พันล้านปี แต่มีการทบทวนหรือการทำให้ละเอียดยิ่งขึ้นที่ประกาศเป็นระยะๆ ช่วงห่างกันไม่กี่เดือน



กล้องโทรทรรศน์ฮับเบิลให้อายุเอกภพเมื่อเดือนเมษายน พ.ศ. 2545 มีค่า 13-14 พันล้านปี เราบอกไม่ได้ว่าคำตอบสุดท้ายจะมีได้เมื่อไร แต่ก็หวังจะได้ใน พ.ศ. 2546 คำถามที่อยากให้ตอบมีว่า อะไรเกิดขึ้นตอนเริ่มต้นเอกภพ? อะไรเกิดก่อนขณะนั้น? นี่เป็นคำถามที่นักเอกภพศาสตร์จะโต้แย้งกันตลอดไป เพราะไม่มีการสังเกตการณ์ได้โดยตรง และไม่มีการพิสูจน์ใดๆ



9) ดาวเคราะห์หายไป 2 ดวง 




มีภาพน่าประหลาดใจเมื่อนักวิทยาศาสตร์เก่งสร้างภาพจำลองคอมพิวเตอร์ครั้งล่าสุด ใส่ทฤษฎีเก่าแก่ที่ยอมรับกันมาหลายทศวรรษ ที่บอกว่าระบบสุริยะของเราเกิดได้อย่างไร แต่แล้วคอมพิวเตอร์กลับให้แผนภาพที่มีแค่ดาวเคราะห์ 7 ดวง?! ดาวเคราะห์ที่หายไปคือยูเรนัสและดาวเนปจูน ปัญหาเกิดขึ้นเพราะแบบจำลองมาตรฐานของการเกิดดาวเคราะห์ต้องการมวลมาชนกันและยึดติดกันแน่นหลายล้านปี เมื่อแกนใหญ่เกิดขึ้น ก๊าซถูกดึงเพื่อสร้างดาวเคราะห์ใหญ่อย่างดาวพฤหัสบดีและดาวเสาร์ แต่ไกลกว่านั้นตรงที่เนปจูนและยูเรนัสอยู่



กลับไม่มีมวลมากพอจะสร้างดาวเคราะห์ใดได้ นักทฤษฎีอลัน บอสส์ จากสถาบันคาร์เนจีที่วอชิงตันให้ความคิดใหม่เรื่องกลไกที่สร้างดาวเคราะห์ยักษ์น้ำแข็ง บอสส์นึกภาพดาวเคราะห์ใหญ่ทั้งสี่ในระบบสุริยะของเรา ที่ไม่ได้มีวิวัฒนาการมาจากแกนหิน เมื่อใช้แบบจำลองมาตรฐาน แต่มันยุบตัวจากก้อนก๊าซใหญ่และก้อนฝุ่น การแก้ปัญหา บอสส์จำต้องให้ระบบสุริยะเริ่มแรกของเราอยู่ในส่วนอื่นของอวกาศ เขาเลือกบริเวณที่ดาวเกิดกันหนาแน่น บริเวณแบบนี้รังสีเหนือม่วงจากดาวดวงใกล้ๆ



แผ่ออกไปผลักมวลออกจากยูเรนัสและเนปจูนจนมีน้ำหนักน้อยลงเหลือเท่าที่เห็น ต่อมาระบบสุริยะได้เดินทางจากที่วุ่นวายนั้นมายังบริเวณในปัจจุบัน อันเป็นที่น่ารื่นรมย์ในดาราจักร ความคิดทั้งหมดดูดี แต่นักดาราศาสตร์อื่นสงสัย เรามีทฤษฎีเก่าแก่ที่ทำงานได้ไม่ดีนัก และมีทฤษฎีใหม่จากความคิดที่รุนแรงและกว้างไกล ในพ.ศ. 2546 ในขณะที่นักดาราศาสตร์บางคนกำลังยุ่งคอยมองหาดาวเคราะห์รอบดาวอื่นๆ บางคนก็พยายามหาว่าดาวเคราะห์ในระบบสุริยะของเราเป็นตัวเป็นตนขึ้นมาได้อย่างไร



























ที่มา :

____________________

เครดิต :

________________________________

Pageviews

แสดงความคิดเห็น

 
Top