บทความนี้ผมจะสอนการตั้งค่าพื้นฐานต่างๆ ของบล็อกเพื่อให้เข้าใจการตั้งค่าในส่วนต่าง ๆ ของ Blogger และจะทำให้คุณสามารถตั้งค่าต่าง ๆ ตามความต้องการของตนเองได้ อีกทั้งจะเป็นประโยชน์ในการพัฒนาการทำ Blogger ในระยะยาวด้วย
การตั้งค่าพื้นฐานต่างๆ ของบล็อกทำได้โดย Log in เข้าไปที่ blogger เมื่อมาที่หน้า แผงควบคุม ให้ Click ที่ การตั้งค่า
และท่านจะเข้ามาที่เมนูการตั้งค่าของบล็อก
ผมจะแบ่งการตั้งค่าออกเป็น 8 ส่วนดังนี้
1. ขั้นต้น
คุณสามารถดาวน์โหลด Blog เพื่อเก็บเป็น Backup ข้อมูลบทความและ comment ของบล็อกได้โดยเลือก ส่งออกบล็อก
แต่ถ้าคุณมีข้อมูลบล็อกเดิมอยู่แล้วอยากจะนำมาใช้กับบล็อกใหม่ที่สร้างขึ้น ก็ให้เลือก นำเข้าบล็อก
แต่ถ้าคิดว่าไม่ต้องการใช้บล็อกนี้แล้วก็สามารถลบทิ้งได้โดยเลือก ลบบล็อก
Title และคำอธิบายของบล็อก ควรใส่ให้เข้าใจภาพรวมของบล็อกและมี keyword ในการทำบล็อกแทรกอยู่ใน Description ด้วย
ในส่วนการตั้งค่าอื่น ๆ ควรตั้งค่าดังนี้
องค์ประกอบ | ตั้งค่าเป็น |
เพิ่มบล็อกของคุณในรายการของเราหรือไม่ | ใช่ |
อนุญาตให้เครื่องมือค้นหาพบบล็อกของคุณหรือไม่ | ใช่ |
แสดงการแก้ไขอย่างรวดเร็วบนบล็อกของคุณหรือไม่ | ใช่ |
มีเนื้อหาสำหรับผู้ใหญ่หรือไม่ | ไม่ |
เลือกโปรแกรมแก้ไขบทความ | โปรแกรมแก้ไขที่อัปเดต |
2. การเผยแพร่
ในการตั้งค่าส่วนนี้สามารถเปลี่ยน URL ของบล็อกได้
ถ้าคุณต้องการเปลี่ยนโดเมนของบล็อกจาก .blogspot.com เป็นโดเมนอื่นก็สามารถตั้งค่าได้ตรงส่วนนี้ แต่จะต้องเสียค่าใช้จ่ายการจดโดเมนผ่าน google ปีละ 10 US (ประมาณ 300 กว่าบาทต่อปี) เช่นบล็อกของผมเปลี่ยนจาก http://blog-app-web.blogspot.com/ เป็น http://blog-app-web.com
3. การจัดรูปแบบ
ในส่วนนี้เป็นการตั้งค่าการเผยแพร่บทความ เช่น จำนวนบทความในหน้าแรก รูปแบบเวลาและวันที่เป็นต้น
คุณควรจะตั้งค่าต่าง ๆ ดังนี้
องค์ประกอบ | ตั้งค่าเป็น |
แสดงสูงสุด | เท่าไรก็ได้ |
รูปแบบส่วนหัวของวันที่ | ตั้งได้ตามใจชอบ |
รูปแบบวันที่ของดัชนีคลังบทความ | ตั้งได้ตามใจชอบ |
รูปแบบเวลา | ตั้งได้ตามใจชอบ |
โซนเวลา | (GMT+07:00)กรุงเทพ |
ภาษา | ไทย |
แปลงการขึ้นบรรทัดใหม่ | ไม่ |
แสดงฟิลด์ชื่อเรื่อง | ใช่ |
แสดงฟิลด์ของลิงก์ | ไม่ |
เปิดใช้การจัดเรียงแบบลอย | ใช่ |
แม่แบบบทความ | ยังไม่ต้องตั้งค่า |
4. เมนูข้อคิดเห็น
เป็นเมนูสำหรับตั้งค่าต่าง ๆ เกี่ยวกับการแสดงความคิดเห็นของบล็อก
คุณควรจะตั้งค่าต่าง ๆ ดังนี้
องค์ประกอบ | ตั้งค่าเป็น |
ข้อคิดเห็น | แสดง |
ใครสามารถแสดงความคิดเห็น | ผู้ใช้ที่มีบัญชี Google |
การจัดวางฟอร์มความคิดเห็น | วางไว้ใต้บทความ |
ความคิดเห็นเริ่มต้นสำหรับบทความ | บทความใหม่มีความคิดเห็น |
ลิงก์ย้อนกลับ | ซ่อน |
ค่าเริ่มต้นของลิงก์ย้อนกลับสำหรับบทความ | บทความใหม่มีลิงก์ย้อนกลับ |
รูปแบบเวลาในส่วนความคิดเห็น | ตั้งค่าตามใจ |
ข้อความของฟอร์มความคิดเห็น | ไม่ต้องใส่ค่าใด ๆ ก็ได้ |
การจัดการความคิดเห็น | ไม่ |
แสดงการตรวจสอบคำสำหรับความคิดเห็นหรือไม่ | ไม่ |
แสดงรูปภาพโปรไฟล์บนความคิดเห็นหรือไม่ | ใช่ |
อีเมลสำหรับแจ้งเตือนเมื่อมีความคิดเห็นใหม่ | กรอก email ของคุณลงไป |
5. เก็บเข้าคลังบทความ
ตั้งให้เป็นรายเดือนจะดีที่สุด
6. ฟีดของไซต์
ถ้าบทความในบล็อกไม่มากนัก ตั้งค่าเป็นแบบเต็ม แต่ถ้าบทความมีประมาณ 100 ขึ้นไปควรจะตั้งเป็นแบบสั้น
ถ้าต้องการทำความเข้าใจเกี่ยวกับฟีดมากขึ้นให้อ่านบทความ ทำความรู้จัก กับ Feed ใน Blogger
และบทความ FeedBurner ตัวช่วยให้ Feed แรง!!!
7. อีเมลและมือถือ
ในส่วนนี้เป็นการตั้งค่า อีเมลเพื่อให้ระบบส่งบล็อกของคุณทุกครั้งที่มีการเผยแพร่ และเป็นการตั้งค่า การใช้อุปกรณ์เคลื่อนที่ในการเขียนบล็อก ตรงนี้ผมยังไม่เคยลองเหมือนกัน ถ้าสนใจลองศึกษาเพิ่มเติมที่ เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับโทรศัพท์มือถือ
8. OpenID
คุณสามารถใช้ OpenID URL เพื่อเข้าสู่ไซต์อื่นๆ ที่ใช้งาน OpenID นอกจากนี้คุณยังสามารถกำหนดให้ผู้ใช้ OpenID สามารถแสดงความคิดเห็นในบล็อกของคุณ โดยปรับการตั้งค่า ความคิดเห็น ของคุณ เรียนรู้เพิ่มเติม เกี่ยวกับ OpenID
ตัวอย่าง URL ของ OpenID ของผม http://blog-app-web.blogspot.com/
9. สิทธิ์
ในส่วนนี้คุณสามารถใช้ในการเปลี่ยนผู้เขียนบล็อก และเพิ่มผู้ดูแลระบบได้ถึง 100 ราย
สำหรับวิธีการทำให้ศึกษาจากบทความ วิธีย้าย Blogger จากบัญชีผู้ใช้หนึ่งไปสู่บัญชีผู้ใช้อื่น
นอกจากนี้คุณยังจำกัดคนเข้าชมบล็อกได้ด้วย โดยการระบุ Email ของผู้ที่ต้องการลงไป
ลองศึกษาการตั้งค่าเหล่านี้ดูนะครับ แล้วจะพบว่าทำได้ไม่ยุ่งยากเลย สวัสดีครับ
แสดงความคิดเห็น