หลังจากที่เกิดแผ่นดินไหวที่ญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 11 มี.ค.2554 จนทำให้เกิดคลื่นสึนามิเข้าถล่มชายฝั่ง และตามมาด้วยแผ่นดินไหวมี่ประเทศพม่า เมื่อวันที่ 25 มี.ค. สามารถรับรู้ได้ถึงแรงสั่นสะเทือนทั่วทั้งภาคเหนือของไทย แม้กระทั่งกรุงเทพฯ ก็ยังรับรู้ได้ เราจึงควรจะเตรียมตนเองให้พร้อมไว้เมื่อภัยเหล่านี้มาถึง เราจะเตรียมการอย่างไรเมื่อเกิดแผ่นดินไหว
เมื่อเกิดแผ่นดินไหว
- ให้ หมอบ ลงกับพื้น
- หลีกเลี่ยงบริเวณใกล้หน้าต่าง หรือที่ที่มีอะไรแขวนไว้ตามฝาผนัง และหลบใต้โต๊ะหรือมุมห้อง
- ป้อง ตนเองโดยใช้แขนปกป้องศีรษะและคอรอจนความสั่นไหวยุติลง หรือปลอดภัยแล้วจึงออกไปสู่จุดที่ปลอดภัย
- ตั้งสติและอย่าให้คนในครอบครัวตื่นตระหนก
- อยู่ห่างจากบริเวณที่มีวัตถุหล่นใส่
- ถ้าอยู่ในที่โล่งแจ้งให้อยู่ห่างจากป้ายโฆษณา เสาไฟ อาคาร และต้นไม้ใหญ่
- ระวังเศษอิฐ กระจกแตก และชิ้นส่วนอาคารหล่นใส่
สำหรับผู้ที่อยู่ในอาคารสูง
- ถ้าอาคารมั่นคงแข็งแรง ให้อยู่ในอาคารนั้น
- ถ้าอาคารเก่าและไม่มั่นคง ให้รีบออกจากอาคารนั้นให้เร็วที่สุด
- หลังการสั่นสะเทือนสิ้นสุด ให้รีบออกจากอาคาร
- ถ้าไม่อยู่ใกล้ทางออก ให้ หมอบ ป้อง เกาะ จนกว่าจะมีผู้เข้าไปช่วยเหลือ
- ถ้าอยู่ใกล้ทางออก ให้ออกจากอาคารโดยเร็ว อย่าแย่งกันจนเกิดความชุลมน
- ห้ามใช้ลิฟท์โดยเด็ดขาด
หลังจากเกิดแผ่นดินไหว
- ปฐมพยาบาลขั้นต้นผู้ได้รับบาดเจ็บก่อน
- รีบออกจากอาคารที่เสียหายทันที
- ใส่รองเท้าหุ้มส้นเสมอ ป้องกันเศษแก้ว วัสดุแหลมคม และสิ่งหักพังแทง
- ตรวจสายไฟ ท่อน้ำ ท่อแก๊ส ถ้าแก๊สรั่วให้ปิดวาวล์ถังแก๊ส ยกสะพานไฟ อย่าจุดไม้ขีดไฟ หรือก่อไฟ
- ตรวจสอบแก๊สรั่วด้วยการดมกลิ่นเท่านั้น ถ้าได้กลิ่นแก๊สให้รีบเปิดประตูหน้าต่างทุกบาน
- ออกจากบริเวณที่สายไฟขาด หรือสายไฟพาดถึง
- เปิดวิทยุฟังคำแนะนำฉุกเฉิน ใช้โทรศัพท์เมื่อจำเป็นจริง ๆ
- สำรวจความเสียหายของท่อส้วม และท่อน้ำทิ้งก่อนใช้
- อย่าเป็นไทยมุงเข้าไปในเขตที่เสียหาย หรือปรักหักพัง
- อย่าแพร่ข่าวลือ
ที่มา : สำนักป้องกัน และบรรเทาสาธารณภัย กรุงเทพมหานคร
แสดงความคิดเห็น