®Amarin Printing and Publishing PCL®
เวลาเกิดปัญหาต่างๆในสวน ไม่ว่าจะเป็นต้นไม้โทรม เกิดโรคและแมลงศัตรูพืช หรือวัชพืชต่างๆ แล้วไม่รู้จะทำอย่างไร หรือจะใช้อะไรทำให้ปัญหาเหล่านี้หมดไป จริงๆแล้ววิธีที่ดีที่สุดคือการหมั่นสังเกตด้วยตัวเองและกำจัดด้วยวิธี ธรรมชาติไม่ว่าจะเป็นการใช้สารสกัดธรรมชาติ ตัดส่วนที่เป็นโรคและแมลงทิ้ง แต่ถ้ายังไม่ได้ผลก็ถึงคราวต้องใช้สารเคมีช่วยเสริม ซึ่งก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่สะดวกและเห็นผลรวดเร็ว อย่างไรก็ตาม ข้อควรระวังคือ ใช้ในปริมาณที่กำหนดปฏิบัติตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด และใช้เท่าที่จำเป็น สำหรับสารเคมีที่เรานำมาฝากคัดเฉพาะประเภทที่เหมาะกับสวนในบ้านเพื่อใช้แก้ ปัญหาที่มักพบได้ทั่วไป ลองเลือกไปใช้ให้เหมาะกับสวนกันค่ะ

ฟื้นสภาพต้น ปรับปรุงดิน

บางครั้งเมื่อปลูกต้นไม้ไปสักระยะมักมีปัญหาต้นไม้โทรมไม่สวยงามเหมือนตอน ที่ซื้อมาแรกๆ ซึ่งอาจเกิดจากหลายปัจจัยวิธีหนึ่งที่ช่วยได้ดีคือการปรับปรุงดินและฟื้นฟู สภาพต้น ซึ่งมีตั้งแต่การพรวนดิน ใส่ปุ๋ยทั้งทางดินและทางใบเพื่อช่วยเพิ่มธาตุอาหารให้เพียงพอ

• ลองสังเกตว่า ดินในสวนของเรามีลักษณะเป็นดินแข็งเสื่อมสภาพและดินเป็นกรดจากการใส่ปุ๋ย เคมีต่อเนื่องเป็นเวลานานหรือไม่หากพบปัญหาเหล่านี้ก็ควรปรับปรุงคุณภาพดิน ซึ่งทำได้ตั้งแต่ใส่ปุ๋ยอินทรีย์และอินทรียวัตถุต่างๆ หรือใช้สารอินทรีย์ปรับสภาพดินสูตรเข้มข้นประกอบด้วยสารฮิวมิคแอซิดและฟูลวิ คแอซิด และธาตุอาหารอื่นๆ เช่นโพแทสเซียม แคลเซียม แมกนีเซียม ซึ่งเป็นสารอินทรีย์จึงไม่มีอันตรายและผลตกค้าง ทำหน้าที่ปรับโครงสร้างดินให้ร่วนซุย ระบายน้ำและอากาศได้ดีช่วยให้ดินอุ้มน้ำและรักษาความชื้นในดินได้ดี

• กรณีที่ต้นไม้ไม่ออกดอกและติดผลมากเท่าเดิม ทั้งที่ใส่ปุ๋ยสม่ำเสมอควรเสริมด้วยธาตุอาหารรอง-ธาตุอาหารเสริม ซึ่งประกอบด้วยแมกนีเซียมโบรอน และสาหร่ายทะเล ส่งเสริมการแตกตาดอก เพิ่มจำนวนดอกให้สมบูรณ์จึงเพิ่มการติดผลและลดการหลุดร่วงของผล หรือใช้ในช่วงหลังเก็บเกี่ยวเพื่อฟื้นฟูสภาพทำให้ต้นไม้แตกใบใหม่ พืชสามารถดูดธาตุอาหารและน้ำได้ดีขึ้นนอกจากนี้ยังเหมาะสำหรับพืชที่ผ่าน สภาพแวดล้อมไม่เหมาะสมมา เช่น น้ำท่วมอากาศร้อนหรือเย็นจัด

• สำหรับพืชที่มีอาการขาดธาตุอาหาร คือ ต้นแคระแกร็น ใบเหลืองซีดให้ดอกหรือผลน้อย ไม่เจริญเติบโต โดยปกติเรามักให้ธาตุอาหารหลักเป็นประจำอยู่แล้ว แต่นานๆครั้งก็ควรให้ธาตุอาหารรองและธาตุอาหารเสริมเพิ่มเติมอย่างธาตุอาหาร ในรูปคีเลท ซึ่งประกอบด้วยธาตุอาหารรองคือแมกนีเซียมและธาตุอาหารเสริม ได้แก่ เหล็ก แมงกานีส ทองแดง สังกะสี และโบรอนโมเลกุลของคีเลทเมื่อฉีดพ่นไปที่ผิวใบจะแทรกซึมผ่านเข้าสู่ภายในใบ พืชได้ดีบางส่วนจะเคลื่อนย้ายลงไปสู่รากได้ธาตุอาหารเหล่านี้ช่วยให้พืชติด ดอกและออกผลได้ดี ทั้งยังทำให้ขั้วเหนียวและลดการหลุดร่วงของผลได้ดีด้วยใครที่ปลูกไม้ผลแล้ว มักเจออาการผลร่วงก็เป็นอีกทางเลือกที่น่าสนใจค่ะ

แมลงศัตรูพืช ปัญหาใหญ่

แมลงศัตรูพืชถือเป็นอีกปัญหาที่ทำให้ต้นไม้ไม่สวยงาม สำหรับสวนในบ้านเรามักพบเพลี้ยแป้งเพลี้ยอ่อน เพลี้ยหอย เพลี้ยไฟ ซึ่งจะดูดน้ำเลี้ยงจากต้นพืชทำให้ใบหงิกงอผิดรูป รวมไปถึงแมลงในดิน ได้แก่ มด ปลวก เป็นต้นแนวทางการกำจัดแมลงเหล่านี้ให้เลือกใช้สารที่มีชื่อสามัญว่า ไดโนทีฟูแรน (Dinotefuran)ลักษณะเป็นเกล็ดละเอียด ใช้รองก้นหลุมหรือโรยรอบโคนต้นแล้วกลบดินทับ!

• การกำจัดโรคพืชและแมลงเบื้องต้นทำได้โดยตัดและเก็บส่วนที่เกิดอาการออกให้ มากที่สุดนำไปเผาหรือทิ้งให้ห่างไกลจากสวน เพื่อป้องกันการกลับมาเกิดซ้ำ แล้วจึงใช้สารเคมีควบคุม

• ควรอ่านฉลากก่อนใช้สารเคมีทุกครั้งและปฏิบัติตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด ทั้งปริมาณการใช้สารกับพืชแต่ละชนิด การเก็บรักษา ควรเก็บในภาชนะที่ปิดมิดชิด สถานที่ร่มและแห้ง ห่างไกลจากเด็ก อาหาร น้ำดื่ม สัตว์เลี้ยง และเปลวไฟ

• หากมีการใช้สารเคมีกำจัดโรคและแมลงต่างๆสำหรับพืชรับประทานได้ ควรเว้นระยะการเก็บเกี่ยวตามคำแนะนำเพื่อไม่ให้เกิดสารตกค้าง

• ควรสวมถุงมือขณะใช้สารเคมีทุกครั้ง ระวังอย่าให้เข้าปาก ตา จมูก ผิวหนัง และโดนเสื้อผ้าหลังใช้งานเสร็จควรล้างมือด้วยสบู่และน้ำจนสะอาด

ข้อมูลและผลิตภัณฑ์ : ขอขอบคุณ บริษัทโซตัส อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด โทรศัพท์0-2984-0999

สำหรับแมลงที่พบบ่อยในสวนอาจสังเกตและป้องกันได้ดังนี้

• เพลี้ยอ่อน พบในไม้ดอก เช่น กุหลาบ เบญจมาศ ชวนชมแมลงปากดูดขนาดเล็กที่ชอบดูดกินน้ำเลี้ยงตามใบ ยอด หรือดอก ทำให้หงิกงอไม่ออกดอก ดอกเหี่ยวและอ่อนแอ มักพบมดอยู่ด้วยกัน โดยมดจะอาศัยกินน้ำหวานที่เพลี้ยอ่อนปล่อยออกมา ซึ่งจะเห็นเป็นคราบราดำ ถ้าปลูกประดับบ้านและมีการทำลายไม่มากนักก็ใช้มือขยี้ทำลาย หากจำเป็นต้องใช้สารฆ่าแมลงควรใช้สารมาลาไทออนฉีดพ่นติดต่อกัน 2-3 ครั้ง

• เพลี้ยหอยหรือเพลี้ยเกล็ด เป็นแมลงปากดูด มักเกาะแน่นตามใบกาบใบ ลำต้น และราก ทำให้พืชชะงักการเจริญเติบโต ทรุดโทรม ใบเหลืองขนาดดอกเล็กลง จนพืชอาจเหี่ยวและตายได้ ถ้ามีการระบาดไม่มากนักให้รูดเพลี้ยหอยออกจากพืชหรือตัดชิ้นส่วนพืชนั้นแล้ว ทำลาย รวมทั้งใช้ยาฆ่ามดเพื่อไม่ให้มีการเคลื่อนย้ายเพลี้ยหอย เช่น คาร์บาริลหรือไดอะซินอนฉีดพ่นตามรังมด ถ้ามีเพลี้ยหอยระบาดมาก ใช้มาลาไทออนฉีดพ่นให้ทั่ว

• เพลี้ยแป้ง มักพบในไม้ประดับ ได้แก่ ยี่โถ ผกากรอง ลั่นทม ไทรโกสน เฟิน นีออน จำปีจำปา เป็นต้น ลักษณะเป็นเส้นขนสีขาวปกคลุมลำตัวเพลี้ยแป้งจะดูดน้ำเลี้ยงพืชทำให้พืชแคระ แกร็น ใบร่วง ถ้ามีปริมาณมากพืชอาจทรุดโทรมและตายได้ ถ้าพบไม่มากนัก ก็ใช้วิธีรูดตัวออกมาจากพืชแล้วทำลาย

โรคพืชในสวน

โรคพืชก็เป็นอีกปัจจัยสำคัญที่ทำให้ต้นไม้ชะงักการเจริญเติบโตและดูไม่สวย งาม โรคที่พบทั่วไป ได้แก่ ราสนิมในลั่นทม โรคใบจุดกุหลาบราแป้งในไม้ประดับต่างๆ วิธีการป้องกันและรักษาคือ ตัดใบหรือต้นที่เกิดโรคทิ้งหลีกเลี่ยงการรดน้ำที่เปียกต้นและใบ ทางที่ดีควรฉีดพ่นยากำจัดเชื้อราเพื่อเป็นการป้องกันก่อนเกิดโรค

โรคพืชที่เกิดกับไม้ประดับในสวนซึ่งมักพบบ่อย ได้แก่

• ราสนิม มักพบในลั่นทมและกุหลาบ บริเวณใบจะมีจุดคล้ายฝุ่นผงสีเหลืองส้มเกาะกระจายอยู่ใต้ใบ พบการแพร่ระบาดเมื่อมีความชื้นในอากาศสูงเป็นระยะเวลานานๆ แสงแดดไม่เพียงพอ หรือได้รับปุ๋ยไนโตรเจนมากเกินไปหากพบราสนิมให้ตัดหรือเก็บใบที่เป็นโรคออก ให้หมด จากนั้นตัดแต่งกิ่งให้โปร่งหลีกเลี่ยงการรดน้ำที่ใบ เพราะเชื้อราจะแพร่กระจาย ให้ฉีดพ่นยาที่มีส่วนประกอบของกำมะถันหรือสารฟลูไตรอะฟอล (Flutriafol)

• ราแป้ง มักเกิดกับใบย่อยหรือยอดอ่อน ลักษณะเป็นผงสีขาวคล้ายแป้งบนผิวใบ ทำให้ใบหงิกงอ ให้กำจัดใบที่เกิดโรครวมทั้งใบที่ร่วงตามพื้นดินทิ้งฉีดพ่นด้วยคาร์เบนดาซิม (Carbendazim) เบนเลท คาราเทน หรือกำมะถันผง

แห้วหมูศัตรูตัวร้ายในสนามหญ้า

ถือเป็นปัญหาคลาสสิกของสนามหญ้าตามบ้านเลยทีเดียวแห้วหมูจัดเป็นวัชพืชที่ ปราบยากอันดับต้นๆ ทั้งยังทำให้สนามดูไม่สวยงาม หากมีจำนวนไม่มากนักให้ใช้วิธีถอนโดยแซะขึ้นมาทั้งหัวหญ้าแห้วหมูจะค่อยๆลด ลงในที่สุด สำหรับสารเคมีให้ใช้สารชื่อสามัญว่า ไพราโซซัลฟูรอน-เอทิล (Pyrazosulfuron-ethyl) หลังวัชพืชงอกซึ่งใช้กำจัดวัชพืชใบกว้างและกกได้ด้วย

สารเพิ่มประสิทธิภาพ

หากต้องการให้สารที่ใช้ได้ผลดียิ่งขึ้น แนะนำให้ใช้สารเพิ่มประสิทธิภาพของสารต่างๆที่ใช้กับพืชหรือที่เรียกกันทั่ว ไปว่า "สารจับใบ" ซึ่งมีสารออกฤทธิ์คือBlendofalkylarylpolyethoxylate และSodiumalkylsulfonatealkylate สารจับใบจะทำหน้าที่ลดแรงตึงผิวของน้ำยา ทำให้สารเคมีติดและแผ่กระจายเปียกผิวใบอย่างรวดเร็ว เพิ่มพื้นที่การดูดซึมเข้าสู่พืชได้มากขึ้นจึงเพิ่มประสิทธิภาพของสารเคมี ทั้งสารป้องกันกำจัดแมลงวัชพืช และฮอร์โมนพืช นอกจากนี้ยังลดการชะล้างสารเคมีไปกับน้ำฝนและน้ำค้าง ทำให้เราไม่ต้องใช้สารเคมีมากเกินความจำเป็น

แสดงความคิดเห็น

 
Top