'คว่ำตายหงายเป็น'ใช้ฟอกเลือด© สนับสนุนโดย Kom Chad Luek 'คว่ำตายหงายเป็น'ใช้ฟอกเลือด
คว่ำตายหงายเป็น ไม้ดั้งเดิมของทวีฟแอฟริกา มีชื่อวิทยาศาสตร์ Bryophyllum pinnatum (Lam.) Oken จัดอยู่ในวงศ์กุหลาบหิน มีชื่อท้องถิ่นอื่นๆ ว่า กาลำ โพ้ะเพะ ต้นตายปลายเป็น ทองสามย่าน เป็นต้น พบขึ้นกระจายทั่วไปในเขตร้อนของโลกและกลุ่มประเทศอาเซียน เช่น ลาว เวียดนาม กัมพูชาและไทย เป็นต้น ใบเป็นใบเดี่ยว มีใบย่อย 3 ใบ เป็นรูปวงรีแกมขอบขนาน ส่วนปลายและโคนใบจะมน ขนาดกว้างประมาณ 2.5-5 เซนติเมตร และยาวประมาณ 5-15 เซนติเมตร ออกดอกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง ช่อดอกยาวประมาณ 8-10 เซนติเมตร ผลจะออกเป็นพวงและมีอยู่ 4 หน่วย เป็นผลแห้ง ภายในผลมีเมล็ดมีขนาดเล็กจำนวนมาก มีลักษณะเป็นรูปกระสวยแกมรูปขอบขนานหรือรูปขอบขนานแกมรูปรี ทั้งต้นและรากมีรสเปรี้ยวฝาดเล็กน้อย ออกฤทธิ์ต่อปอดและไต ใช้เป็นยาฟอกเลือด ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดและใบ

แสดงความคิดเห็น

 
Top